“ตลาดเงิน” (Money Markets)

 - ประเภทและบทบาทของตลาดการเงินระหว่างประเทศ
 - ตลาดเงินระหว่างประเทศที่สำคัญ
 - ตลาดทุนระหว่างประเทศที่สำคัญ
 - เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในตลาดทุนระหว่างประเทศ
“ตลาดเงิน” (Money Markets)

     “ตลาดเงิน” (Money Markets) หมายถึง   ตลาดที่ระดมเงินออมระยะยาวหรือสินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เช่น เงินฝากประจำ 12 เดือน หุ้นกู้ หุ้นสามัญและพันธบัตรทั้งของรัฐบาลและเอกชนแบ่งเป็น ตลาดสินเชื่อทั่วไป และ ตลาดหลักทรัพย์


     “ตลาดทุน” (Capital Markets) หมายถึง   ตลาดที่มีการระดมเงินทุน และให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี
เช่น โอนเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อ แบ่งเป็น  ตลาดเงินในระบบ ตลาดเงินนอกระบบ เป็นแหล่งเงินกู้ยืมโดยไม่มีกฎหมายรองรับ   สถานภาพผู้ให้กู้


      “ตลาดการเงินระหว่างประเทศ”   เป็นแหล่งที่ผู้กู้ + ผู้ให้กู้มาพบกันในลักษณะการให้กู้ยืมเงินระหว่างกัน โดยผู้กู้ + ผู้ให้กู้อาจจะอยู่คนละประเทศ ซึ่งใช้สกุลเงินต่างกัน หรือความต้องการกู้ยืมหรือให้กู้ยืมในรูปสกุลเงินที่ต่างจากสกุลเงินที่ใช้ในประเทศของตนสิ่งสำคัญที่ผลักดันให้เกิดตลาดการเงินระหว่างประเทศ คือ การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายกระแสเงินทุนจาประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง หรือเกิดจากการที่ตลาดการเงินภายในประเทศ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้กู้ + ผู้ให้กู้ได้เพียงพอ ทำให้ผู้กู้ + ผู้ให้กู้แสวงหาแหล่งเงินทุน + ผลประโยชน์จากภายนอกประเทศ

T o p

 


บทบาทของตลาดการเงินระหว่างประเทศ


1. เป็นตัวเชื่อมโยงระบบการเงินภายในประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน
2. มีบทบาทของตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ต้องการใช้เงินทุน + ผู้ลงทุนจากประเทศต่างๆ ที่ต้องการหลีกเลี่ยงข้อจำกัดในการหาเงินทุนภายในประเทศของตน ซึ่งเกิดจากกฎหมาย, ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ยังต้องการหาแหล่งเงินทุนที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนดีที่สุด หรือในต้นทุนที่ต่ำที่สุด
ตัวเชื่อมโยงที่สำคัญคือ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลต่างๆ เช่นอัตราแลกเปลี่ยนทันที (Spot Foreign Exchange rate) อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Foreign Exchange rate) ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Foreign Currency Futures) ซึ่งจะต้องผ่านสถาบันการเงินหรือนายหน้าค้าเงินตราต่างประเทศ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลหนึ่งเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่งจะปรับปรุงไปตามสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง + การดำเนินนโยบายการเงินการคลังในแต่ละประเทศ


ผู้กู้ จะใช้ประโยชน์จากตลาดการเงินระหว่างประเทศ ได้ 2 ทาง คือ
-  ระดมเงินทุนโดยออกตราสารจำหน่ายโดยตรงแก่ผู้ให้กู้ในต่างประเทศ
- ใช้เงินทุนระหว่างประเทศ โดยกู้จากสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ระดมทุนจากต่างประเทศโดยตรง เพื่อนำมาปล่อยกู้อีกทอดหนึ่ง


    ผู้ให้กู้ ใช้ประโยชน์จากตลาดการเงินระหว่างประเทศโดย
-  ลงทุนซื้อตราสารที่จำหน่ายในตลาดการเงินระหว่างประเทศโดยตรง
-  ให้กู้ผ่านสถาบันการเงินในประเทศ ซึ่งทำหน้าที่ระดมเงินออมในประเทศ + ให้กู้แก่ต่างประเทศ

 

    ประเภทของตลาดการเงินระหว่างประเทศ + ตราสารการเงิน


1. ตลาดเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ หรือ “ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ” เป็นการแลกเปลี่ยนบัญชีเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามระหว่างเงิน 2 สกุลของผู้เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย ซึ่งอยู่คนละประเทศ
    ตัวอย่าง พ่อค้า USA. สั่งซื้อสินค้าจาก Thai โดยขอจ่ายเงินเป็น US $ ให้แก่ผู้ส่งออกไทย ซึ่งการชำระเงินระหว่างประเทศนั้นต้องผ่านธนาคารพาณิชย์ในแต่ละประเทศ ดังนั้น ธนาคารใน USA. จะหักบัญชีเงินฝากสกุล US $ ของผู้นำเข้าชาว USA. เพื่อจ่ายชำระค่าสินค้านำเข้าให้กับผู้ส่งออกชาวไทย โดยส่งผ่านธนาคารของไทยเข้าบัญชีเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่จะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับผู้ส่งออกชาวไทย เมื่อผู้ส่งออกชาวไทยได้รับเงินเป็น US $ แต่ต้องการใช้เงินบาทในไทย จึงต้องขายเงิน $ ให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อแลกเป็นเงินบาท ดังนั้นตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจึงเป็นการแลกบัญชีเงินฝากระหว่างผู้เกี่ยวข้อง

2. ตลาดเพื่อการให้สินเชื่อระหว่างประเทศ เป็นตลาดที่เกิดจากการโอนเงินออมจากประเทศหนึ่งไปยังผู้ต้องการใช้เงินทุนในอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ
2.1 ผู้ต้องการใช้เงินทุนหรือผู้กู้ ออกตราสารที่เป็นหนังสือสัญญาใช้เงินคืนเมื่อครบกำหนดขายให้กับผู้ให้กู้หรือผู้ลงทุนโดยตรง
2.2 สถาบันการเงินออกตราสารหรือระดมทุนจากผู้ออก+ นำเงินที่รวบรวมได้ไปให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้เงินทุน
ตลาดนี้เป็นตลาดที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินระหว่างประเทศหรือเรียกว่า “ตลาดทุนระหว่างประเทศ” (International Capital Market)

3. ตลาดเพื่อการลงทุนระหว่างประเทศ เป็นลักษณะไปถือหุ้นของบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศ


    ประเภทของตราสารทางการเงิน ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตราสารนั้นออกไปจำหน่าย + สัญชาติของผู้กู้ มี 3 ประเภท คือ
1. ตราสารในประเทศ (Domestic Issue) ตราสารที่ออกจำหน่ายโดยผู้กู้ที่เป็นคนในประเทศ เพื่อระดมทุนจากตลาดในประเทศ เช่น พันธบัตรรัฐบาลไทยสกุลเงินบาทออกโดยรัฐบาลไทย+ออกจำหน่ายในประเทศไทย

2. ตราสารต่างประเทศ (Foreign Issue) ตราสารที่ผู้กู้เป็นชาวต่างชาติ ออกจำหน่ายในประเทศหนึ่ง เพื่อระดมเงินทุนจากตลาดของประเทศนั้นไปใช้ในกิจการ เช่น
พันธบัตรซามูไร - เป็นพันธบัตรสกุลเงินเยน ที่ผู้กู้เป็นชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติญี่ปุ่นออกตราสาร เพื่อระดมทุนจากตลาดญี่ปุ่น
พันธบัตรแยกกี้ – เป็นพันธบัตรสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ผู้กู้เป็นชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกัน ออกตราสารเพื่อระดมทุนในตลาด USA.
พันธบัตรบลูด๊อก (Bulldog) – เป็นพันธบัตรสกุลเงินปอนด์ ที่ออกโดยชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษ ออกเพื่อระดมเงินทุนจากตลาดอังกฤษ เป็นต้น

3. ตราสารยูโร (Euro Issue) – ตราสารที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ข้อจำกัดในประเทศเจ้าของสกุลเงิน ซึ่งเป็นตราสารที่ออกกู้ในตลาดการเงินระหว่างประเทศ+ออกจำหน่าย+หมุนเวียนอยู่ภายนอกอาณาบริเวณของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินนั้นๆ ซึ่งรู้จักในชื่อของตลาดยูโร (Euromarket, OffShore Market, External Market) เช่น ผู้กู้ชาวญี่ปุ่นออกพันธบัตรเงินกู้สกุลดอลลาร์เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุนนอกประเทศ USA. ตราสารที่ออกนี้เรียกว่า “ตราสารยูโรดอลลาร์”


    ตลาดการเงินระหว่างประเทศ – เป็นตลาดที่มีการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 1 วัน ถึง 1 ปี จึงถือได้ว่าเป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะสั้นที่หน่วยงานเอกชนหรือ
รัฐบาลสามารถออกหาทุนหรือลงทุนในตลาดต่างประเทศได้ โดยไม่ติดข้อจำกัดหรือกฎหมายภายในประเทศของตนเอง


    การลงทุนในตลาดเงินระหว่างประเทศ ทำได้ 3 ลักษณะ คือ
1. ลงทุนซื้อตราสารระยะสั้นที่ออกจำหน่ายในตลาดยูโร

2. ลงทุนซื้อตราสารระยะสั้นในตลาดประเทศใดประเทศหนึ่ง (เช่น ชาวต่างชาติลงทุนซื้อตราสารในประเทศ (Domestic Issue) หรือ ตราสารต่างประเทศ (Foreign Issue)ในตลาดการเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง

3. การฝากเงินตราต่างประเทศ กับสถาบันการเงินซึ่งฝากได้ในลักษณะ ฝากในสถาบันการเงินในประเทศเจ้าของสกุลเงินนั้นๆ ฝากในตลาดยูโร

 

T o p

 


    ตลาดเงินระหว่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่
        ตลาดยูโร เป็นตลาดที่รับฝาก+ให้กู้เงินสกุลต่างๆ ที่หมุนเวียนอยู่นอกประเทศของผู้เป็นเจ้าของสกุลเงิน + อยู่นอกการควบคุมของประเทศ เจ้าของสกุลเงิน จะเกิดขึ้นได้ในประเทศที่ไม่มีข้อจำกัดการถือครองเงินตราต่างประเทศของสถาบันการเงินต่างๆ
ตลาดยูโรเกิดขึ้นจาก
1. ความต้องการฝากเงิน $ นอกประเทศ USA. ของกลุ่มประเทศสังคมนิยม+คอมมิวนิสต์ (จีน รัสเซีย + ยูโรปตะวันออกอื่นๆ) ที่ถือครองเงิน $ แต่ไม่ต้องการฝากเงินใน USA. เนื่องจากมีการปกครองต่างระบบกัน จึงนำเงินนี้มาฝากในตลาดยุโรป
2. อังกฤษห้ามสถาบันการเงินในอังกฤษให้กู้ยืมเงินปอนด์สเตอริง แก่ประเทศต่างๆ ทำให้มีการกู้ยืมในสกุล $ สูงขึ้น
3. การผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ ในตลาดการเงินสหรัฐอเมริกา
4. การใช้จ่ายเงิน $ ในต่างประเทศของ USA. เช่น การใช้จ่ายในสงครามเวียดนาม ทำให้ $ ออกไปหมุนเวียนนอกประเทศ USA. มากขึ้น
5. เพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของ USA. ที่ต่ำมาก เนื่องจาก Regulation Q. โดยจำกัดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของเงินฝากประจำที่ธนาคารพาณิชย์จะจ่ายให้กับลูกค้าจึงทำให้มีการโอนเงินออกจากธนาคารพาณิชย์ของ USA. ไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ แทน

      การที่ตลาดยูโรสกุลใดจะดำรงอยู่ได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้
1. การโอนเงินตราสกุลนั้นๆ ระหว่างประเทศจะต้องทำได้โดยเสรี
2. แม้ว่าตลาดยูโรจะไม่ได้อยู่ในประเทศ เจ้าของสกุลเงิน แต่การหักบัญชีระหว่างกันยังต้องทำในประเทศเจ้าของสกุลเงิน จึงต้องไม่มีข้อจำกัดห้ามชาวต่างชาติถอนเงินฝากที่เหลืออยู่ในธนาคารพาณิชย์ในประเทศเจ้าของสกุลเงินนั้นได้
3. ตลาดยูโรได้เปรียบตลาดในประเทศในด้านต้นทุนค่าใช้จ่าย


        ตลาดเงินในประเทศสำคัญๆ ที่มีตลาดเงินพัฒนาแล้ว มีดังนี้
2.1 ตลาดเงินสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดเงินที่พัฒนาแล้วและมีขนาดใหญ่มาก มีตราสารหลายประเภทซื้อขายในตลาด 80% ของตราสารที่ทำการซื้อขายนี้เป็นตั๋วเงินคลังรัฐบาลอเมริกา ซึ่งเป็นที่นิยมของนักลงทุนเพราะมีความเสี่ยงต่ำ+รัฐบาล USA. ค้ำประกันการชำระหนี้เต็มจำนวน ตราสารอีกชนิดหนึ่งคือ ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper), ตั๋วเงินฝาก (CD) ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง (Banker’s Acceptance)
2.2 ตลาดเงินอังกฤษ มีลักษณะเฉพาะตัวในการทำหน้าที่จัดการให้เงินทุนกระจายไปยังผู้ต้องการลงทุนโดยธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษจะดำเนินการผ่าน Discount Houses ที่เป็นสถาบันการเงินทำหน้าที่ซื้อลดตั๋วแลกเงินประเภทต่างๆ แทน ดังนั้นตลาดเงินอังกฤษจึงมีตลาดซื้อลด (Discount Market) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อปรับสภาพคล่องในตลาดเงินให้สมดุล Discount Houses มีหน้าที่ดังนี้
1. ให้กู้ และรับฝากเงินประเภทเผื่อเรียก
2. ซื้อขายตั๋วเงินคลังรัฐบาล
3. รับซื้อลดตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรองแล้ว และตราสารประเภทอื่นๆ
4. ให้ความช่วยเหลือในการจัดหาเงินทุนของรัฐบาลระยะสั้นๆ ทางอ้อม โดยการรับซื้อขายพันธบัตร
รัฐบาลที่มีอายุใกล้ครบกำหนด
5. เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นสำหรับธุรกิจพาณิชย์ และอุตสาหกรรมต่างๆ
สร้างตลาดรองของตั๋วเงินฝากสกุลปอนด์สเตอริงค์และดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
เป็นแหล่งลงทุนและหาเงินทุนของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในการดำรงสินทรัพย์ตามกฎหมาย
ตราสารที่ทำการซื้อขายในตลาดเงินของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรระยะสั้นของรัฐบาลท้องถิ่น (Local Authority Bills and Short Bonds) ตั๋วเงินฝากตราสารพาณิชย์ และเงินฝากประเภทต่างๆ
2.3 ตลาดเงินในประเทศญี่ปุ่น จะมีการพัฒนาช้ามาก เพราะถูกควบคุมโดยธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นโดยควบคุมอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินผ่านการปรับปรุงอัตราซื้อลดทางการ (Official Discount Rate) แต่ระยะหลังญี่ปุ่นเริ่มผ่อนคลายกฎระเบียบ + แก้ไขกฎหมาย ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและการค้าระหว่างประเทศ จึงอนุญาตให้เงินทุนไหลออกนอกประเทศอย่างเสรี ตราสารที่ซื้อขายในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง ตั๋วการค้า (Commercial Bills) ซึ่งมีลักษณะเดียวกับตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรองแล้ว (Bankers’ Acceptance) ของ USA. เงินฝากต่างๆ (เผื่อเรียก ประจำ) ตั๋วเงินฝาก ตราสารพาณิชย์ ตลาดซื้อคืนของญี่ปุ่น (Gensaki)

Short – Term Debt Markets
ตราสารต่างๆ ที่ใช้ในตลาดเงินระหว่างประเทศ/เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในตลาดเงินระหว่างประเทศ
ตราสารระยะสั้นที่ออกจำหน่ายในตลาดยูโร
ตราสารระยะสั้นที่ออกในประเทศใดประเทศหนึ่ง

ตราสารระยะสั้นที่ออกจำหน่ายในตลาดยูโร


1. ตั๋วเงินฝากยูโร (Eurocurrency Certicficate of Deposit - Euro CD)
ตั๋วเงินฝาก (CD  Certificate of Deposit) เป็นหลักฐานการรับเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ (Negotiability) CD จะต่างจากเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไป
ตั๋วเงินฝากยูโรมักจะระบุแน่ชัดว่าเป็นเงินสกุลใด เช่น ตั๋วเงินฝากยูโรดอลลาร์ (Eurodollar CD) หมายถึง CD สกุลเงิน $ ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ใน USA, ตั๋วเงินฝากยูโรเยน (Euroyen CD) หมายถึงตั๋วเงินฝากสกุลเยนที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในญี่ปุ่น
Eurocurrency CD ได้เปรียบกว่า Domestic CD (ตั๋วเงินฝากที่ออกจำหน่ายตลาดในประเทศ) คือ มีสภาพคล่องสูงกว่า & ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากธนาคารที่ออก CD นี้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศเจ้าของสกุลเงิน เพราะอยู่นอกอาณาเขตประเทศเจ้าของสกุลเงิน การที่ตั๋วเงินฝากยูโรโอนเปลี่ยนมือได้ ทำให้มีสภาพคล่องสูงกว่าเงินฝากประจำทั่วไป ดังนั้น อัตราผลตอบแทนจึงต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนเงินฝากประจำ (ประมาณ 1/8%-1/4% ในช่วงตลาดปกติ)
1.2 Euronotes และ Euro Commercial Paper (ECP)
(1) Euronotes เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้น ออกโดยองค์กรธุรกิจหรือรัฐบาลเพื่อหาเงินทุนระยะสั้นจากตลาดยูโร ซึ่งมีลักษณะโอนเปลี่ยนมือได้โดยการส่งมอบ (Bearer Form) จะออกจำหน่ายโดยมีอัตราดอกเบี้ยตราไว้ (หรือไม่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้) หรือขายลดให้กับนักลงทุน (On Discount Basis) ก็ได้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล US $ และหน่วยการเงินยุโรป ดอกเบี้ยจ่ายจะไม่ถูกหักภาษีใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเต็มจำนวนและจะมีอายุประมาณ 1, 3+6 เดือน การออกจำหน่ายแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง US $ 100-200 ล้าน
(2) Euro Commercial Paper (ECP) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้นออกโดยองค์กรธุรกิจหรือรัฐบาล เพื่อหาทุนระยะสั้นจากตลาดยูโร แต่มีขนาดใหญ่กว่าตลาด Euronote ECP จะมีลักษณะโอนเปลี่ยนมือได้โดยการลงส่งมอบและไม่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้โดยขายลดให้แก่ผู้ลงทุน อายุของ ECP ที่ออกจำหน่ายมี
อายุตั้งแต่ 7-365 วัน แต่ที่มีอยู่ในตลาดส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่า 80-180 วัน การออกจำหน่ายแต่ละครั้งส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง US. $ 200-300 ล้าน และจะอยู่ในสกุล US.$ และหน่วยการเงินยุโรป ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเต็มจำนวนโดยไม่ถูกหักภาษี Euronotes % ECP มีลักษณะเหมือนกันมาก บางแห่งอาจจะจัดตราสารทั้ง 2 นี้ เป็นตราสารชนิดเดียวกัน
1.3 เงินฝากยูโร (Eurocurrency Deposit) เป็นการฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์ที่อยู่นอกอาณาเขตของประเทศเจ้าของเงินสกุลนั้นๆ โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ขณะที่ฝากเงิน ซึ่งจะเป็นเงินฝากระยะสั้น เช่น เงินฝากข้ามคืน (Overnight) เงินฝากเผื่อเรียก (Call Deposit) เงินฝากประจำ ผู้ฝากเงินในตลาดยูโรจะเป็นธนาคารพาณิชย์, ธนาคารกลาง และบริษัทที่มีธุรกิจระหว่างประเทศ และจะเป็นเงินสกุลสำคัญๆ ของโลก เช่น US.$, Yen, DM, SwFr, Ffr. เป็นต้น
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยูโรของเงินแต่ละสกุลจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ เนื่องจากเงินฝากยูโรนั้น ธนาคารพาณิชย์ผู้รับฝากไม่ต้องกันวงเงินฝากส่วนหนึ่งเป็นเงินสดสำรองตามกฎหมาย
2. ตราสารระยะสั้นที่ออกในประเทศใดประเทศหนึ่ง (Domestic Money Market Instruments)
ซึ่งนักลงทุนชาวต่างชาติสามารถไปลงทุนซื้อตราสารที่ออกในประเทศนั้นได้ โดยไม่ขัดกับกฎหมายของประเทศนั้นๆ ประกอบด้วย
2.1 ตั๋วเงินคลัง (Treasury bills) หลักฐานการเป็นหนี้ระยะสั้นของรัฐบาลที่รัฐออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อหาเงินทุนระยะสั้นมาชดเชยงบประมาณขาดดุลของรัฐบาลมีอายุ 3, 6, 12 เดือน ออกจำหน่ายโดยให้ผู้ลงทุนประมูลซื้อตั๋วเงินคลัง โดยรัฐบาลจะจ่ายชำระคืนต้นเงินเมื่อครบกำหนดที่ราคา Par หรือ 100 ผู้ใดประมูลส่วนลดต่ำสุดจะเป็นผู้ประมูลได้ ถ้าผู้ประมูลได้จะซื้อตั๋วเงินคลังในราคาต่ำกว่า 100 จะได้รับชำระคืนที่ 100
2.2 Repurchase Agreement (Repo หรือ RP) มีลักษณะเป็นการลงทุนระยะสั้น ซึ่งถ้าต้องการใช้เงินทุนระยะสั้นมีหลักทรัพย์อยู่ก็เอาหลักทรัพย์นั้นไปขอกู้เงินจากผู้ต้องการลงทุนโดยใช้หลักทรัพย์นั้น ค้ำประกันการกู้เงิน การดำเนินงาน คือ
(1) ขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้ผู้ลงทุนโดยมีสัญญาซื้อคืนเมื่อครบกำหนด (Sale repurchase Agreement) เช่น 1 วัน, 3 วัน, 7 วัน, 1 เดือน ระยะเวลาของการซื้อคืนอยู่ที่ข้อตกลงของผู้ให้กู้และผู้กู้
(2) หากเป็นการซื้อโดยมีสัญญาชายคืน เรียกว่า Reverse Repurchase Agreement หรือ Reverve Repo เช่น
นักลงทุนชาวญี่ปุ่น มีเงิน US.$ ต้องการลงทุนระยะสั้นในตลาดเงิน USA โดยลงทุนในตลาดซื้อคืน (Repurchase Market) และรับซื้อหลักทรัพย์รัฐบาล USA จากสถาบันการเงินใน USA เนื่องจากสถาบันแห่งนั้นขาดแคลนเงินทุนระยะสั้น โดยมีสัญญาว่าจะขายหลักทรัพย์คืนให้เมื่อครบกำหนดสัญญา อัตราผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดซื้อคืนจะต่ำกว่าการให้กู้ยืมโดยทั่วไป เพราะมีความปลอดภัยสูง
2.3 Bankers Acceptace (Ba’s) ตั๋วแลกเงินชนิดเรียกเก็บเงินเมื่อถึงกำหนด (Time Bill) ที่เกิดขึ้นจากการค้าหรือการเงินระหว่างเป็นตั๋วแลกเงินที่ได้รับการรับรองการจ่ายเงินจากธนาคารที่ประทับตราลงนามในตั๋วแลกเงินใบนั้น BA’s ส่วนใหญ่เกิดจากการค้าระหว่างประเทศ เช่น เมื่อผู้ส่งออกส่งสินค้าลงเรือแล้ว ผู้ส่งออกก็ทำตั๋วแลกเงินส่งไปเรียกเก็บเงินจากผู้นำเข้าต่างประเทศผ่านธนาคารในประเทศของตน เนื่องจากผู้ส่งออกให้เครดิตแก่ผู้นำเข้า 60 วัน ตั๋วแลกเงินจึงมีอายุ 60 วัน เมื่อครบกำหนด 60 วัน ผู้ส่งออกก็จะได้รับเงินตามตั๋วเงินโดยผู้นำเข้าตั๋วเงินชนิดเรียกเก็บเมื่อครบกำหนดไปขอให้ธนาคารของผู้นำเข้าประทับตรา และลงนามรับรองการจ่ายเงินนั้น หากผู้นำเข้าบิดพลิ้ว ผู้ส่งออกสามารถเรียกร้องให้ธนาคารที่รับรองตั๋วเงินชำระแทนผู้นำเข้าได้ เนื่องจากตั๋วแลกเงินมีอายุการเรียกเก็บเงิน ถ้าผู้ส่งออกต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียน ก็อาจนำเอาตั๋วแลกเงินที่ผ่านการรับรองไปขายลดให้กับสถาบันการเงินต่างๆ BA’s ส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 3 เดือน
2.4 ตราสารพาณิชย์ (Deomestic Commercial Paper “CP”) ตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนแน่นอนและมีกำหนดชำระเงินแน่นอนในอนาคต ตราสารพาณิชย์นี้ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ โดยการส่งมอบ (Bearer Form) การออกตราสารพาณิชย์จะออกโดยการขายลดให้แก่ผู้ลงทุนเพราะค่าใช้จ่ายถูกกว่าการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน โดยเฉลี่ย CP มีอายุต่ำกว่า 30 วัน
2.5 ตั๋วเงินฝากในประเทศ (Domestic Certificate of Deposit “CP”) เป็นหลักฐานการรับฝากเงินที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ผู้ฝากเงินที่เป็นวงเงินฝากจำนวนสูง มีกำหนดวันจ่ายชำระคืนแน่นอน มีอัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้ สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ (Negotiability CD) อาจมีทั้งกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate CD) + อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate CD/Variable Rate CD) ส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 1-3 เดือน ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยจะคำนวณจากวันจริงที่ถือครองต่อปี (360 วัน) การออก CD จะมีต้นทุนที่สูงกว่าตั๋วเงินฝากยูโร เพราะเงินที่ระดมได้จากการออกตั๋วเงินฝากนี้ส่วนหนึ่งจะต้องถูกกันไว้เป็นเงินสดสำรองตามกฎหมาย
(International Capital Market)
ตลาดทุนระหว่างประเทศ เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนของผู้ที่ต้องการใช้เงินทุน และผู้ที่มีเงินทุนระยะยาวเกินกว่า 1 ปี ซึ่งการระดมทุนระยะยาวทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การออกตราสารการเป็นหนี้ (Debt Instruments) ให้แก่ผู้ลงทุน เช่น พันธบัตรเงินกู้ต่างๆ (Bonds) ผู้ออกได้แก่ องค์การธุรกิจ สถาบันการเงิน รัฐบาล โดยผู้กู้จะจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ให้กู้ในรูปดอกเบี้ยใน (Bond Market)
2. การจำหน่ายหุ้นให้แก่ผู้ลงทุน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการใน (Equities Market)

T o p


      ตลาดทุนระหว่างประเทศที่สำคัญ


1. ตลาดพันธบัตรในประเทศ (Domestic Bonds Market) ทำการซื้อขายพันธบัตรในประเทศ (Domestic Bonds) และพันธบัตรต่างประเทศ (Foreign Bonds)
ตลาดพันธบัตรใน USA. เป็นตลาดทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจำแนกผู้ออกพันธบัตรดังนี้
1) รัฐบาลกลาง (Federal Government) ออกพันธบัตรเงินกู้เพื่อหาเงินทุนมาชดเชยงบ
ประมาณขาดดุลของรัฐบาล โดยอาจจะออกพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่ ทั้งระยะปานกลาง 2-10 ปี (U.S. Treasury Notes) พันธบัตรระยะเวลา 10-30 ปี (U.S. Treasury Notes) และสถาบันการเงินต่างๆ และผู้ค้าพันธบัตร (Dealer) มีราคาตั้งแต่ใบละ $5,000 - $10,000 และ $50,000 กำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง โดยคำนวณจากวันจริงที่ถือครองต่อปี (365 วัน)
2) พันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลกลาง (Federal Agencies) ออกเพื่อระดมทุนจากภาคเอกชนไปใช้ในกิจการของรัฐ เพื่อให้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ทางด้าน Econ. + So. บางอย่าง
3) พันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลท้องถิ่น
4) พันธบัตรที่ออกโดยเอกชน (Corporate Bonds) จะให้ผลตอบแทนสูงสุด
5) พันธบัตรที่ออกโดยคนต่างชาติ (Foreign Bons) เช่น Yankee Bonds พันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานธุรกิจใน USA. ที่รู้จักกันมากอีกประเภทหนึ่งคือ Hight Yield Bonds หรือ Junks Bonds เป็นพันธบัตรที่มีความเสี่ยงสูงไม่เหมาะที่จะถือไว้เพื่อการลงทุน พันธบัตรนี้มักจะเสนอผลตอบแทนต่อผู้ลงทุนสูงมาก
1.2 ตลาดพันธบัตรในญี่ปุ่น มีขนาดใหญ่อันดับ 2 รองจากใน USA 92% เป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลกลาง, รัฐบาลท้องถิ่น, เทศบาล และธนาคาร 5% จะออกโดยเอกชน พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นมีอายุ
ตั้งแต่ 2, 3, 4, 10 ปี และ 20 ปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง โดยคำนวณจากวันจริงต่อปี (365) วัน วิธีการออกจำหน่ายจะทำ 2 วิธีคือ
1. การเปิดประชุมขายให้กับสถาบันการเงินต่างๆ
2. ขายโดยวิธีดั้งเดิมของตลาด โดยการเจรจาต่อรองและปันส่วนให้กับสถาบันการเงินต่างๆ (Syndication)
นอกจากนี้ตราสารที่ซื้อขายกันแพร่หลายในตลาดทุนญี่ปุ่นอีกประเภทหนึ่งคือ หุ้นกู้ (Financial Debentures) ซึ่งออกโดยธนาคารเพื่อการให้สินเชื่อระยะยาว ธนาคารพาณิชย์มีอายุระหว่าง 1-10 ปี หุ้นกู้ที่อายุ 1-5 ปี มักจำหน่ายโดยไม่มีอัตราดอกเบี้ยกำหนดให้ จะชายลดให้กับผู้ลงทุน ในขณะที่หุ้นกู้อายุ 5-10 ปี จะมีอัตราดอกเบี้ยตราไว้ จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง หุ้นกู้นี้จะให้อัตราผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล 0.45% ซึ่งจะมีอยู่ในตลาด 25%
พันธบัตรต่างประเทศ (Foreign Bonds) ในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Samurai Bonds พันธบัตรสกุลเยนที่ออกโดยผู้กู้ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นจำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่น ผู้กู้รายแรกในตลาด คือ ธนาคารพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank)
2. Shogun Bonds พันธบัตรเงินตราต่างประเทศที่ไม่ใช่เงินเยนออกจำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุนในญี่ปุ่น โดยผู้กู้ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น ผู้กู้คือ ธนาคารโลก

ตลาดพันธบัตรในประเทศเยอรมัน พันธบัตรที่ออกจำหน่ายประกอบด้วย
(1) พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว อายุระหว่าง 8-10 ปี ออกเพื่อใช้ในกิจการต่างๆ เช่น การไปรษณีย์, การรถไฟ, การรวมเยอรมันเข้าด้วยกัน
(2) พันธบัตรระยะปานกลาง อายุ 5 ปี

ตลาดพันธบัตรในอังกฤษ


    ประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น, พันธบัตรองค์กรธุรกิจต่างๆ และพันธบัตรต่างประเทศ ที่เรียกว่า “Bulldog Bonds” พันธบัตรรัฐบาลอังกฤษที่มีความเชื่อถือมากที่สุดในประเทศคือ “Gilt” มี 3 ประเภทคือ
(1) Gilt ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ตราไว้ (Fixed Coupon Bond) เป็นพันธบัตรเงินกู้ที่มีกำหนดชำระคืนแน่นอน
(2) Indes-Linked เป็นพันธบัตรที่มีมูลค่าการจ่ายเงินต้น-ดอกเบี้ย เชื่อมโยงกับดัชนีราคาขายปลีก (Retail Price index) ของ UK
(3) Gilt ที่ไม่มีกำหนดชำระเงินต้นคืน ซึ่งออกในช่วง WW.II + หลังจากนั้นก็ไม่มีการออกพันธบัตรชนิดนี้อีกเลย
ตลาด Gilt จะเปิดให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนได้โดยเสรี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ซึ่งการจำหน่าย Gilt ทำได้หลายลักษณะ คือการยื่นของซื้อโดยตรงจากธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ ผู้ทำตลาดจะนำ Gilt ที่ตนรับซื้อจากธนาคารประเทศอังกฤษ จำหน่ายต่อให้กับผู้ต้องการลงทุน
โดยวิธีเปิดประมูล


2. ตลาดพันธบัตรยูโร (Euro Bond Market) จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.1 พันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Straight Bonds/Fixed Rate Bonds) เป็นพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละงวดไม่เท่ากันตลอดอายุของพันธบัตรขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน ในขณะที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยในแต่ละงวด อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดมักจะใช้ฐานอัตราดอกเบี้ยในตลาดลอนดอน เช่น Libid (London Interbank Bid Rate), Libor (London Interbank Offered Rate), Limean (London Interbank Mean Rate) พันธบัตรประเภทนี้รู้จักกันในชื่อ Floating Rate Notes “Frns”
ผู้กู้ในตลาดพันธบัตรยูโรมีทั้งบริษัทธุรกิจระหว่างประเทศต่างๆ, รัฐบาล, องค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งถือว่าทุกเดือนมีจำนวนวันเท่ากัน คือ 30 วัน และมี 360 วัน ใน 1 ปี

 

T o p

 


      เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในตลาดทุนระหว่างประเทศ


พันธบัตรที่จำหน่ายในตลาดทุนระหว่างประเทศ มี 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. พันธบัตรในประเทศ (Domestic Bonds) เป็นตราสารกู้เงินในประเทศที่ออกโดยผู้กู้ที่มีถิ่นพำนักในประเทศนั้น จำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุนประเทศเดียวกันนั้นและในสกุลเงินของประเทศนั้น ซึ่งเป็นตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้หรือไม่ตราไว้ก็ได้เช่น พันธบัตรรัฐบาลไทยสกุลเงินบาทออกจำหน่ายโดยรัฐบาลไทยให้แก่ผู้ลงทุนในประเทศไทย


2. พันธบัตรต่างประเทศ (Foreign Bonds) เป็นตราสารเงินกู้ที่ออกจำหน่ายในประเทศหนึ่งในสกุลเงินของประเทศนั้น แต่ผู้ออกตราสารหรือผู้กู้ไม่มีถิ่นพำนักในประเทศนั้น เช่น Samurai Bonds, Yankee Bonds, Bulldog Bonds ซึ่งพันธบัตรต่างประเทศมีชื่อเรียกต่างๆ กันในแต่ละประเทศดังนี้


3. พันธบัตรยูโร (Eurobonds) เป็นตราสารการเป็นหนี้ที่ออกจำหน่ายนอกประเทศ เจ้าของเงินสกุลนั้นๆ เป็นตราสารชนิดที่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของพันธบัตรนั้นๆ ได้แก่
3.1 Straight Bond พันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้แน่นอน ซึ่งเรียกว่า “Coupon” มีวันจ่ายชำระคืนแน่นอน
3.2 Couvertibles เป็นตราสารการเป็นหนี้ที่ผู้กู้ได้แก่ องค์กรธุรกิจต่างๆ ออกจำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุน โดยตราสารการเป็นหนี้นี้มีเงื่อนไข ที่ผู้ถือตราสารสามารถเปลี่ยนตราสารการเป็นหนี้ให้เป็นหุ้นสามัญได้ในราคาที่กำหนดไว้และในวันที่กำหนด หากราคาหุ้นสามัญของธุรกิจที่ออกตราสารนี้สูงขึ้น ตราสารประเภทนี้จะมีการซื้อขายลักษณะกึ่งหุ้น (Quasi-Equity) ทันที พันธบัตรที่ออกจำหน่าย โดยมี Warants หรือสิทธิซื้อหุ้นติดอยู่ด้วย ก็จัดว่าเป็น Convertibles
3.3 Floating Rate Notes (Frns) เป็นพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ออกจำหน่ายในตลาดโดยอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรจะถูกกำหนดขึ้นเป็นระยะๆ เช่น ทุก 3 หรือ 6 เดือน ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ยในตลาดและอาจเชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ หรืออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลในขณะนั้นๆ ก็ได้แล้วแต่เงื่อนไขที่กำหนดไว้เช่น กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3 เดือน Libor และ 0.25% หากในวันกำหนดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย เงินกู้ในตลาด Londonระยะ 3 เดือน (3 Mouth Libor) = 5.25% อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรนี้จะเท่ากับ 5.50% (5.25+025) สำหรับ 3 เดือน ข้างหน้า ผู้ลงทุนซื้อตราสารประเภทนี้จะได้ผลตอบแทน ลักษณะเดียวกันผลตอบแทนในตลาดเงิน Frns
3.4 Droplock Issues เป็นพันธบัตรที่ออกจำหน่ายโดยใช้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคาร ซึ่งเปลี่ยนไปตามตลาดบวกข้อดีของพันธบัตรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ การออกพันธบัตรนี้ผู้กู้จะขอกู้ธนาคารโดยจ่ายอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามตลาดเงินให้แก่ธนาคาร แต่มีเงื่อนไขว่าหากอัตราดอกเบี้ยลดลงมาถึงระดับหนึ่ง ผู้กู้มีสิทธิเปลี่ยนเงินกู้ธนาคารจำนวนนี้ไปเป็นพันธบัตรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่แทน ซึ่งทำได้โดยให้ผู้กู้ออกพันธบัตรเงินกู้เพื่อหาเงินมาชำระเงินกู้ธนาคาร (Refinance)
3.5 Rising Coupon Issues พันธบัตรนี้จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เมื่อระยะเวลาผ่านไป เช่น พันธบัตรเงินกู้อายุ 10 ปี โดย 2 ปีแรกจะจ่ายอัตราดอกเบี้ย 10% ปีที่ 3-4 จ่ายดอกเบี้ย 12% และอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ จนครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งเทคนิคนี้เหมาะกับธุรกิจที่มีปัญหากระแสเงินสดเข้าน้อยใน ระยะแรกๆ ของการออกพันธบัตรเงินกู้
3.6 Currency Conversions/Option Bonds เป็นตราสารที่ออกกู้ในเงินตราสกุลหนึ่งและสามารถเปลี่ยนตราสารเงินกู้นี้ให้เป็นตราสารเงินกู้อีกสกุลหนึ่งได้ในอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับการจ่ายดอกเบี้ยเงินของดอกเบี้ยที่จ่ายจะเปลี่ยนไปตามที่กำหนดไว้เช่นกัน เช่น ผู้ออกตราสารเงินกู้ สกุล US$ อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 9% ในวงเงิน $200 ล้าน โดยมีเงื่อนไขจะจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นคืนเป็นเงินเยน สกุล US$ อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 9% ในวงเงิน $200 ล้าน โดยมีเงื่อนไขจะจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นคืนเป็นเงินเยน เริ่ม
ตั้งแต่ปีที่ 2 โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน US$ 1 ต่อ 100 เยน ข้อดีของพันธบัตรนี้คือ ผู้ลงทุนจะมีความเสี่ยงต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนลดลง โดยเฉพาะผู้ลงทุน ที่ใช้เงินเยนเป็นหลักและเมื่อเงินเยนมีแนวโน้มแข็งขึ้น
3.7 Tranche Issue พันธบัตรที่ออกจำหน่ายเป็นช่วง ๆ เพื่อสอดคล้องกับความต้องการใช้เงินของธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ โดยอัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างไปตามระยะเวลาที่ออกจำหน่าย เช่น ธุรกิจมีความต้องการใช้เงินทุน US$ 500 ล้าน ในระยะ 5 ปี โดยระยะปีแรกต้องการใช้เงิน US$ 100 ล้าน ปีต่อไปต้องการอีก US$ 100 ล้าน ปีต่อไปกู้อีก US$ 100 ล้าน และออกพันธบัตรเพิ่มในปีต่อมา เมื่อต้องการใช้เงิน การออกพันธบัตรนี้จะเห็นได้ในตลาดพันธบัตรยูโร
3.8 Zero Coupon Bonds เป็นตราสารการเป็นหนี้ที่ไม่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้ ผู้กู้จะจ่ายชำระเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดเพียงครั้งเดียว ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยตลอดอายุของตราสาร ตราสารประเภทนี้จะจำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุน ข้อดีสำหรับผู้ลงทุนคือ ผู้ลงทุนไม่มีความเสี่ยงด้านการลงทุนต่อ (Reinvestment Risk)
3.9 Perpetual เป็นพันธบัตรที่ไม่มีอายุหรือวันชำระเงินต้นคืน มีทั้งพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่กำหนดอยู่และพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
3.10 Variable Rate Notes (VRNS) เป็นตราสารที่ไม่มีกำหนดชำระคืน โดยอัตราดอกเบี้ยจะอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดลอนดอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น Libor และ X% อัตราดอกเบี้ยจะเป็นเท่าใดขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ให้กู้และผู้กู้
3.11 Index-Linked Bonds เป็นพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยและการจ่ายชำระคืนผูกพันกับดัชนีค่าครองชีพ เช่น รัฐบาล U.K. ได้ออกพันธบัตรรัฐบาลโดยอัตราดอกเบี้ยและการจ่ายชำระเงินต้นคืนผูกกับดัชนีราคาสินค้าขายปลีก (Retail Price Index-RPI) ของ U.K. คือ อัตราดอกเบี้ยเงินต้นการจ่ายชำระคืนจะผันแปรตามดัชนีราคาสินค้าขายปลีก
3.12 Medium Term Notes (MTNS) เป็นพันธบัตรที่มีคุณสมบัติของพันธบัตรระยะยาว (Bonds) แต่มีวิธีการออกจำหน่ายแบบตราสารพาณิชย์ระยะสั้น (Short Term Commercial Paper) โดยออกจำหน่ายเมื่อตลาดมีความต้องการและผู้กู้ต้องการใช้เงินทุนเป็นตราสารเป็นหนี้ที่โอนเปลี่ยนมือได้ โดยการส่งมอบ (Bearer Form) มีอายุระหว่าง 9 เดือน – 30 ปี แต่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 18 เดือน – 5 ปี อัตราดอกเบี้ยมีทั้งอัตราคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัวก็ได้ ขนาดของ MTNS อยู่ระหว่าง 250 – 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

T o p