ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการเงิน (An Overview of Financial Management)
ปัจจุบันธุรกิจต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงมากภายใต้ระบบการค้าเสรี ดังนั้นแต่ละองค์การต้องปรับตัวให้พร้อมที่จะสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ โดยอาศัยปัจจัยในการดำเนินงานที่สำคัญ ซึ่งแต่เดิมจะคุ้นเคยกับ 4 Ms คือ Man , Money , Material และ Management ในปัจจุบันคงจะไม่เพียงพอถ้าต้องการที่จะทำให้องค์กรดำเนินงานอยู่ได้และมีความเจริญก้าวหน้า องค์กรจะต้องมีข่าวสารหรือข้อมูลที่รวดเร็วและทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) องค์กรต้องบริหารปัจจัยเหล่านี้ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยนำหลักบริหารเข้ามาใช้ในทุก ๆ ปัจจัย ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมาก
สำหรับวิชาการเงินธุรกิจ จะเน้นการศึกษาบทบาทและความสำคัญของ เงินทุน (money) ที่มีต่อองค์กร หลักการบริหารเงินทุน บทบาทที่สำคัญของผู้บริหารการเงินขององค์กรแต่ละรูปแบบ นอกจากนี้ผู้บริหารยังต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารการเงิน เลยทีเดียว
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงิน (The Financial Staffs Responsibilities)
ไม่ว่าธุรกิจจะมีรูปแบบองค์กรเป็นอย่างไรก็ตาม จะเป็นกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่หลักในการบริหารเพื่อทำให้เกิด มูลค่าเพิ่มแก่กิจการ นั่นหมายถึงการบริหารเพื่อให้เกิดผลกำไรและขยายกิจการให้เกิดความเจริญ เติบโตในอนาคตอันจะส่งผลให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดแก่กิจการ (Maximizing Value of the Firm) ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงินจะมี 5 ประการคือ
- หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน (Forecasting and Planning)
- หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน (Investment and Financing Decision)
- หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม (Coordination and Control)
- หน้าที่ในการเป็นตัวแทนขององค์กรทำการติดต่อกับตลาดการเงิน (Dealing with the Financial Market)
- หน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน (Forecasting and Planning)
ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่ในการประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ซึ่งการพยากรณ์และการวางแผนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะสั้น การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะยาว เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินสดของกิจการว่าเป็นอย่างไร ในแต่ละเดือนมีเงินสดส่วนเกินหรือเงินสดขาดมือจำนวนเท่าใด ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนว่าถ้าในเดือนที่กิจการมีเงินสดส่วนเกินควรนำเงินไปลงทุนอย่างไร หรือเดือนใดที่เงินสดขาดมือ ควรจัดหาเงินสดมาจากแหล่งใด การพยากรณ์และวางแผนการเงินระยะสั้นนี้ช่วยให้กิจการได้ใช้เงินทุนระยะสั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรักษาสภาพคล่องของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการพิจารณาการตัดสินใจลงทุน ซึ่งกิจการต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง โดยให้ผลตอบแทนในระยะยาว จึงจำเป็นต้องทำการพิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุนข้อมูลที่นำมาประกอบการตัดสินใจต้องเป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำเพื่อให้การวิเคราะห์นั้นตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด จึงสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน (Investment and Financial Decision)
ปัญหาการตัดสินใจของผู้บริหารการเงินแบ่งเป็น 2 ประเภทคือปัญหาการตัดสินใจระยะสั้น เช่น ปัญหาในกรณีที่กิจการจะทำการผลิตชิ้นส่วนเอง หรือซื้อปัญหาว่าควรขายสินค้า หรือผลิตต่อแล้วขาย หรือปัญหาว่าควรยกเลิกสินค้าที่มีผลขาดทุนหรือไม่ปัญหาการตัดสินใจระยะยาวซึ่งหมายถึงโครงการลงทุนต่าง ๆ เช่น การสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อทดแทนโรงงานเดิม การผลิตสินค้าใหม่เพิ่มเติม เป็นต้น
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระยะสั้นหรือระยะยาว การตัดสินใจจะมีประเด็นที่สำคัญอยู่ 2 ประการคือ การ ตัดสินใจจัดหาเงินทุน และการตัดสินใจใช้เงินลงทุน โดยมีหลักการว่า ในการจัดหาเงินทุนควรเป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำที่สุดและความเสี่ยงต่ำที่สุด โดยเงินทุนจะได้มาจากหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งเงินทุนจากส่วนนี้จะมีต้นทุนในรูปของดอกเบี้ยจ่ายซึ่งจะต่ำกว่า เงินทุนจากส่วนของเจ้าของที่จะมีต้นทุนในรูปของเงินปันผลหรือกำไร(ขาดทุน) นอกจากนี้ความเสี่ยงก็ต่ำกว่าด้วย
การตัดสินใจนำเงินทุนไปใช้ แบ่งออกเป็น 2 ทางคือ ใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งจะทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง แต่ความสามารถในการทำกำไรจะต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม (Coordination and Control)
ในการปฏิบัติงานผู้บริหารการเงินจะต้องประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการเพื่อมั่นใจว่ากิจการจะมีผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ การตัดสินใจทุก ๆ ด้านของกิจการจะต้องมีส่วนสัมพันธ์หรือมีผลกับเรื่องของการเงินเสมอ เช่น การตัดสินใจด้านการตลาดเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่จะมีผลกระทบต่อความต้องการในการขยายการลงทุน การจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม ผลกระทบต่อความต้องการในการขยายการลงทุน การจัดหาเงินลงทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม ผลกระทบต่อนโยบายสินค้าคงคลังและความสามารถในการใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานเหล่านี้จะเกิดประสิทธิภาพได้จะต้องอาศัยการประสานงานกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจในการวางแผนอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมการดำเนินงานโดยการตรวจสอบและประเมินผลตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่
หน้าที่ในการเป็นตัวแทนองค์กรทาการติดต่อกับตลาดการเงิน (Dealing with the Financial Market)
ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องติดต่อตลาดการเงินเพื่อการระดมทุน โดยสามารถแบ่งตลาดการเงินออกได้เป็น2 ตลาดดังนี้ ตลาดการเงิน (The Financial Market) ตลาดเงิน(Money Market) ตลาดทุน (Capital Market) ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนระยะสั้นที่มีอายุการชำระหนี้ ไม่เกิน 1 ปี แหล่งเงินทุนหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นตลาดเงินได้แก่ เจ้าหนี้การค้า เงินเบิกเกินบัญชี (overdraft account) ตลาดรับซื้อคืน (Reperchase Market ) แต่ละตลาดมีหน้าที่ในการระดมเงินทุนหรือจัดหาเงินทุนให้แก่ธุรกิจโดย ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนระยะยาวที่มีอายุการชำระหนี้เกิน 1 ปี โดยมีแหล่งเงินทุน ได้แก่ เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดOTC
ดังนั้นการที่ธุรกิจจัดหาเงินทุนต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ว่าจะนำเงินไปลงทุนอะไร ถ้าลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ควรจัดหาเงินทุนจากตลาดเงิน แต่ถ้าต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรควรจัดหาเงินทุนจากตลาดทุน โดยพิจารณาเงินทุนแต่ละแหล่งว่ามีต้นทุนของเงินทุนและความเสี่ยงเป็นอย่างไร ซึ่งผู้บริหารควรเลือกแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนและความเสี่ยงต่ำสุด
หน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
กิจการทุก ๆ แห่งต้องเผชิญกับความเสี่ยง 2 ลักษณะ คือ
- ความเสี่ยงนอกระบบ (Unsystematic Risk) เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากภายในองค์กร และองค์การสามารถควบคุมได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารขององค์กรว่ามีความสามารถบริหารงานเพื่อขจัดความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด เช่น ความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่องทางการเงินของกิจการ
- ความเสี่ยงภายในระบบ (Systematic Risk) ความเสี่ยงอันเกิดจากภายนอกกิจการ เป็นความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการพยากรณ์ทิศทางหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) หรืออัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Foreign Exchange Rate) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ประชากรศาสตร์
ในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ สามารถจัดตั้งได้หลายรูปแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ลักษณะและขนาดของเงินทุน หรือขอบข่ายความต้องการในการบริหารงานของเจ้าของกิจการ โดยแต่ละรูปแบบจะมีขั้นตอนการจัดตั้ง ลักษณะองค์กรตลอดจนข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่สำคัญ 3 รูปแบบคือ
- กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship)
- ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
- บริษัท (Company)

กิจการเจ้าของคนเดียว(Sole Proprietorship)
แหล่งเงินทุนในส่วนของเจ้าของกิจการจะได้มาจากเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็กโครงสร้างองค์กรไม่ยุ่งยากซับซ้อน และกิจการจะมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา
ข้อดี
- รูปแบบองค์กรไม่สลับซับซ้อน
- ง่ายต่อการจัดตั้งเพราะไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและใช้เงินทุนต่ำ
- เสียภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา ซึ่งจะทำให้กิจการเสียภาษีต่ำลง
- การตัดสินใจในการบริหารงานสะดวกและรวดเร็วเพราะขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว
- กรณีที่กิจการมีผลกำไร ก็จะเป็นของเจ้าของเพียงคนเดียว
ข้อเสีย
- กิจการเจ้าของคนเดียวมีเงินทุนจำกัด
- เนื่องจากเงินทุนมีจำกัด การขยายกิจการจึงทำได้ยาก
- โอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจมีน้อย
- กรณีที่กิจการมีผลขาดทุน เจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบผลขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว
- ความรู้ความสามารถในการบริหารงานจำกัดเพียงบุคคลคนเดียว คือเจ้าของกิจการเท่านั้น
- ลูกจ้างของกิจการขาดความก้าวหน้า เนื่องจากกิจการขนาดเล็ก
ดังนั้นกิจการเจ้าของคนเดียวจึงถือเป็นรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นประเภทแรกและส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามธุรกิจไทยส่วนมากจะเริ่มจากกิจการเจ้าของคนเดียวและแปรสภาพมาเป็นรูปของบริษัทในเวลาต่อมาเพื่อต้องการที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่กิจการ เพราะกิจการเจ้าของคนเดียวจะมีความเสียเปรียบในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับธุรกิจในรูปแบบอื่น ๆ

ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
กิจการที่เกิดจากการจัดทำข้อตกลงหรือสัญญาของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ว่าด้วยเรื่องของการลงทุนร่วมกัน เพื่อประสงค์ที่จะร่วมแบ่งปันผลกำไรและผลขาดทุนอันเกิดจากการดำเนินกิจการ ซึ่งข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอาจจะมีขึ้นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร การร่วมลงทุนนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถนำเอาเงินสดทรัพย์สินอื่น ๆ หรือแรงงานมารลงทุนก็ได้ แล้วแต่ข้อตกลงหรือสัญญาที่ระบุไว้ กิจการห้างหุ้นส่วนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- เกิดจากการร่วมทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- อาจตกลงกันด้วยวาจาหรือจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
- ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
- ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- การดำเนินงานภายใต้ธุรกรรมต่าง ๆ ไม่สามารถใช้ชื่อห้างได้
- ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- สามารถใช้ชื่อห้างทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้
- รับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวน
- ผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภท
- จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินจำกัดจำนวน
- ไม่จำกัดความรับผิดขอบในหนี้สิน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ ,ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ,ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ข้อดี - ข้อเสียของกิจการห้างหุ้นส่วน
ข้อดี
- ง่ายต่อการจัดตั้ง เพราะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจัดตั้งห้างหุ้นส่วนประเภทใด
- สามารถจัดหาเงินทุนได้มากกว่ากิจการแบบเจ้าของคนเดียว เพราะเงินทุนได้มาจากผู้เป็นหุ้นส่วน
- ประสิทธิภาพในการบริหารสูงขึ้น เพราะความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่นำมาใช้ในการบริหารมิได้มาจากบุคคลเพียงคนเดียว
- ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการห้างหุ้นส่วนต่ำ
ข้อเสีย
- การที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนชนิดไม่จำกัดความรับผิดชอบจะมีอำนาจในการบริหารงาน ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง และเกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ
- กรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดในหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนจะมีความเสี่ยงสูงในการรับผิดชอบชดใช้หนี้สินของห้างด้วยสินทรัพย์ส่วนของตน
- อาจขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ถ้าหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย ถอนตัวหรือประกาศยกเลิกกิจการตามกฎหมาย

บริษัท (Company)
เป็นกิจการที่มีวิธีการระดมเงินทุนโดยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มูลค่าหุ้น ๆ ละเท่า ๆ กัน จำนวนหุ้นจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ การจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบของบริษัทได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากสามารถจัดหาหรือระดมเงินทุนได้ง่าย นอกจากนี้บริษัทยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- บริษัทจำกัด (Limited Company)
- บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company)
บริษัทจำกัด
- ผู้ถือหุ้นไม่ถึง 100 คนรวมทั้งนิติบุคคลด้วย
- มูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท
- ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้สินของบริษัทจำกัดจำนวนเท่า
ที่ลงทุนไป
- ผู้เริ่มก่อการ 7 คนขึ้นไป
บริษัทมหาชนจำกัด
- มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รวมทั้งนิติบุคคล
- ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัดไม่เกินค่าหุ้นที่ต้องชำระ
- มีผู้ร่วมก่อการ 15 คนขึ้นไป
ข้อดี
- ได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะธุรกิจในรูปแบบของบริษัท จะมีขนาดกิจการค่อนข้างใหญ่ ซึ่งจะมีความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนต่อหน่วย
- ผู้ลงทุนจะรับผิดชอบจำกัดจำนวนเท่ากับเงินที่ลงทุนในหุ้น
- ง่ายต่อการเลิกลงทุน โดยวิธีการขายหุ้นต่อให้แก่นักลงทุนรายอื่น ๆ
- อายุของกิจการค่อนข้างต่อเนื่อง เพราะกิจการในรูปของบริษัทมีฐานะเป็นนิติบุคคลหากผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งถอนหุ้น ตาย หรือผู้บริหารไร้วความสามารถจะไม่มีผลทำให้บริษัทต้องเลิกกิจการ
- สามารถระดมเงินได้ง่าย จึงมีความได้เปรียบในเรื่องขนาดของเงินทุน
ข้อเสีย
- การก่อตั้งทำได้ยาก เพราะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- เสียค่าใช้จ่ายในการก่อตั้งสูง เพราะจะต้องเสียเงินค่าจดทะเบียนและเสียเวลา
- ใช้เงินทุนค่อนข้างสูง
- จะต้องปฏิบัติภายใต้ข้อบังคับกฎหมาย เพราะธุรกิจที่เกิดจากเงินลงทุนคนจำนวนมาก ดังนั้นทางการจึงต้องเข้ามากำกับดูแล รักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนรายย่อยเพื่อไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างผู้ลงทุน
- เสียภาษีซ้ำซ้อน คือ จะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัท อีกทั้งกำไรที่นำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ก็จะต้องเสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง
- จะต้องเปิดเผยข้อมูลประจำปีให้สาธารณชนรับทราบ

|